สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ประกอบไปด้วย 2 วิชาเอกใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science—B.Sc.) สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย (Communication Disorders) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ ที่ประกอบไปด้วย 2 วิชาเอกได้แก่
- วิชาเอกแก้ไขการได้ยิน
- วิชาเอกแก้ไขการพูด
โดยหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบันนั้น เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ 2561 ที่มีจำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 127 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี
เรียนวิชาชีพ ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ในการเรียนการสอนของสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมายนั้น จะมีการเรียนในรายวิชาพื้นฐานตั้งแต่วิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ สถิติ กายวิภาค สรีระ รวมไปถึงพื้นฐานทางด้านภาษาศาสตร์ การสื่อสาร สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้จะมีวิชาเฉพาะ เช่น วิชาทางด้าน หู คอ จมูก การพูด การได้ยิน ประสาทวิทยา โสตสัมผัสวิทยา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องเข้ารับการปฏิงานคลินิก และยังสามารถเลือกเรียนในวิชาที่ตนเองสนใจได้ด้วย
จบไปเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ไปแล้ว จะสามารถประกอบอาชีพเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ทั้งที่เป็นนักแก้ไขการได้ยิน หรือนักแก้ไขการพูดได้ โดยสามารถทำงานได้ทั้งในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรือสถาบันพื้นฟูสมรรถภาพที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชน โรงงานต่างๆ ที่มีหน่วยงานทางด้านนี้อยู่
ค่าเทอม สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
สำหรับค่าคิดค่าเทอมของสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นจะเป็นการคิดแบบเหมาจ่ายในอัตรา 25,000 บาท/เทอม ทั้งนี้สามารถตรวจสอบค่าเทอมของมหาวิทยาลัยมหิดล ในสาขาอื่นๆ ได้จากที่นี่
ดาวน์โหลดโครงสร้างหลักสูตร
ผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในหลักสาขานี้ สาขาดาวน์โหลดไฟล์โครงสร้างหลักสูตรเพื่อมาศึกษาเพิ่มเติมได้จากที่นี่